บทที่ 2

ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ประเภทของระบบนิเวศ

ประเภทของระบบนิเวศ

1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน   ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ดังนี้

 

Clip

1.1 ระบบนิเวศป่าไม้  (Forest Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ดังนี้

1) ระบบนิเวศป่าไม้เขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา  เป็นต้น
2) ระบบนิเวศป่าไม้เขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
3) ระบบนิเวศป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ระบบนิเวศป่าสน
4)  ระบบนิเวศป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ป่าโขดหิน)

 1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น

แบ่งได้ดังนี้

1) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าซาวันนา  โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี
2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่, ทุ่งหญ้าสเตปป์
3) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว  ทุ่งหญ้าทุนดรา

images (1)

 

1.3  ระบบนิเวศน์ทะเลทราย (Desert Ecosystem)

1

เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ  แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้  ได้แก่

1) ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน   ทะเลทรายเขตอบอุ่น
2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน

 

2. ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก  ซึ่งโครงสร้างหลัก
คือ น้ำนั่นเอง  แบ่งออกได้ดังนี้

2.1  ระบบนิเวศน้ำจืด  (Fresh water Ecosystem)  เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด  อาจแบ่งย่อยเป็น

2.1.1   ระบบนิเวศน้ำนิ่ง  เช่น  หนอง  บึง  ทะเลสาบน้ำจืด  เป็นต้น
2.1.2   ระบบนิเวศน้ำไหล  เช่น  ลำธาร ห้วย แม่น้ำ  เป็นต้น

images (2)

2.2  ระบบนิเวศน้ำกร่อย  (Estuarine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม  มักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำต่าง ๆ   จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้นจึงเรียกว่า
ระบบนิเวศป่าชายเลน    แต่บางพื้นที่อาจเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่  เช่น ทะเลสงขลาตอนกลางก็จะมีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำกร่อยมีพืชน้ำสลับกับป่าโกงกาง

 2.3   ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีน้ำเป็นน้ำเค็ม  โดยปกติจะมีความเค็มประมาณพันละ 35  มีทั้งที่เป็นทะเลปิดและทะเลเปิด   เนื่องจากเป็นห้วงน้ำขนาดใหญ่  จึงนิยมแบ่งออกเป็นระบบนิเวศย่อยตามความลึกของน้ำอีกด้วย  คือ

images

2.3.1  ระบบนิเวศชายฝั่ง (Coastal Ecosystem)  เป็นบริเวณที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงสิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง
ของระดับน้ำดังกล่าว  มีระบบย่อย  2 ประเภท  คือ ระบบนิเวศโขดหินชายฝั่ง และ ระบบนิเวศชายหาด
2.3.2    ระบบนิเวศน้ำตื้น  เป็นระบบนิเวศที่นับจากระบบนิเวศชายฝั่งลงไปจนถึงน้ำลึก 200 เมตร
2.3.3     ระบบนิเวศทะเลลึก  เป็นระบบนิเวศที่นับต่อเนื่องจากความลึก  200  เมตรลงไปถึงท้องทะเล   ส่วนนี้มักเป็นบริเวณที่แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง  ดังนั้นจึงขาดแคลนผู้ผลิตของระบบ สัตว์น้ำต่าง ๆ จึงมีจำนวนน้อยและใช้ชีวิตโดยรอซากสิ่งชีวิตอื่นที่ตายจากด้านบนแล้ว

 

ปัจจัยที่มีความสัมพันพ์กับระบบนิเวศ 

1. แสง
ยังมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกหากินของสัตว์ต่างๆ สัตว์ส่วนใหญ่จะออกหากินเวลากลางวันแต่ก็มีสัตว์อีกหลายชนิดที่ออกหากินเวลากลางคืนเช่น ค้างคาว นกฮูก เป็นต้น

2. อุณหภูมิ 
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะดำรงชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิประมาณ  10 – 30  องศาเซลเซียส ในที่ที่มี

อุณหภูมิสูงมากหรืออุณหภูมิต่ำมากจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่น้อยทั้งชนิดและจำนวน   หรืออาจไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้เลย  เช่น  แถบขั้วโลก  และบริเวณทะเลทราย  ในแหล่งน้ำที่อุณหภูมิ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
แต่สิ่งมีชีวิตก็มีการปรับตัว  เช่น  ในบางฤดูกาลมีสัตว์และพืชหลายชนิดต้องพักตัวหรือจำศีล  เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว   สัตว์ประเภทอพยพไปสู่ถิ่นใหม่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นการชั่วคราว
ในบงฤดู  เช่น นกนางแอ่นอพยพจากประเทศจีน มาหากินในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว  และอาจเลยไปถึงมาเลเซียราวเดือนกันยายนทุกปี
สิ่งมีชีวิตจะมีรูปร่างลักษณะหรือสีที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิของแหล่งที่อยู่เฉพาะแตกต่างกันไปด้วย
เช่น  สุนัข ในประเทศที่มีอากาศหนาว   จะเป็นพันธุ์ที่มีขนยาวปุกปุย  แต่ในแถบร้อนจะเป็นพันธุ์ขนเกรียน  ต้นไม้เมืองหนาวก็มีความเฉพาะ เช่น ป่าสน  จะอยู่ในเขตหนาวแตกต่างจากพืชในป่าดิบชื้นในเขตร้อน

3. แร่ธาตุ
แร่ธาตุต่างๆ จะมีอยู่ในอากาศที่ห่อหุ้มโลก  อยู่ในดินและละลายอยู่ในน้ำ  แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่
ออกซิเจน  คาร์บอน  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  และแร่ธาตุอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกชีวิตต้องการในกระบวนการดำรงชีพ   แต่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต้องการแร่ธาตุเหล่านี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน  และระบบนิเวศแต่ละระบบจะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบในปริมาณที่แตกต่างกัน

 

 

4. ความชื้น
ความชื้นในบรรยากาศจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลกและยังเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ความชื้นมีผลต่อการระเหยของน้ำออกจากร่างกายของสิ่งมีชีวิต   ทำให้จำกัดชนิดและการกระจายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ด้วย ในเขตร้อนจะมีความชื้นสูง เนื่องจากมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอ  และจะมีความอุดมสมบูรณ์  จึงมีความหลากหลายของชนิดและปริมาณของสิ่งมีชีวิตมากกว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว

            ปัจจัยกำหนดลักษณะของระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในแต่ละระบบนิเวศย่อมเกิดขึ้นหรืออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีปัจจัยหลายประการที่เป็นสิ่งกำหนดลักษณะของระบบนิเวศ  ปัจจัยสำคัญ  ได้แก่

  1.อุณหภูมิ เป็นเครื่องกำหนดชนิดของพืชและสัตว์ว่ามีชนิดใดอยู่บ้าง เพราะอุณหภูมิมีอิทธิพล
ต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในน้ำ การเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐานและสรีระวิทยาของสิ่งมีชีวิต
การอพยพของสัตว์ การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ในพื้นที่ต่าง ๆ และควบคุมชนิดของไข่
และอัตราส่วนเพศในสัตว์บางชนิด

 2. น้ำและความชื้น พืชและสัตว์ มีการถ่ายเทไอน้ำให้กับอากาศอยู่เสมอบริเวณที่อากาศมีความชื้นต่ำ ร่างกายจะมีการถ่ายเทน้ำให้กับอากาศมากขึ้น ส่วนพืชจะมีการถ่ายเทน้ำให้กับอากาศอยู่เสมอระบบนิเวศที่มีความชื้นมากมักจะมีพืชและสัตว์อาศัยอย่างหนาแน่นทำให้มีโอกาสประสานสัมพันธ์
ในการถ่ายทอดวัตถุธาตุและพลังงานให้แก่กันได้มากขึ้น

3.  แสงสว่าง  มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ  เพราะทำให้การถ่ายเทวัตถุธาตุต่าง ๆ  อิทธิพลของแสงสว่างที่มีต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  คุณภาพแสงมีผลต่อการงอกของเมล็ด ช่วงแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืชหลายชนิด  ความเข้มแสงมีผลต่อการสังเคราะห์แสง

4.  ดิน   เป็นที่รวมของธาตุอาหารต่าง ๆ เช่น  แคลเซียม  ไนเตรท  ฟอสฟอรัส  และยังเป็น
แหล่งปุ๋ยธรรมชาติ  คือ  เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงก็จะถูกย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ดินที่มีลักษณะความสมบูรณ์หรือมีธาตุอาหารแตกต่างกันย่อมมีผลต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยดินนั้นดำรงชีวิตอยู่ในแง่ของชนิด จำนวน  การแพร่กระจาย การเจริญเติบโต  เช่น  บริเวณดินเค็มก็จะมีพืชพวกทนเค็มขึ้นอยู่

5.  ไฟป่า   มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต  ผลเสียคือ เป็นอันตรายโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต
ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย  สร้างผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ  เช่น  ดิน  น้ำ  อันจะส่งผลถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต  ส่วนผลดีของไฟป่าคือ  ช่วยเพิ่มธาตุอาหารบางชนิดให้พืชช่วยเร่งการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด

6. ความเป็นกรดเป็นด่าง มีความสำคัญต่อกระบวนการหายใจและระบบการทำงานของเอนไซม์
ภายในร่างกาย  ซึ่งเป็นตัวการที่สำคัญมาก เพราะตัวความเป็นกรดหรือด่างเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีความ สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย

7. การแย่งชิง เป็นการแย่งชิงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เนื่องจากมีความต้องการปัจจัยพื้นฐานเหมือนกันแต่มีจำนวนจำกัด หรือมีไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้เป็นปกติ  เช่น  การแย่งชิงน้ำ  อาหาร  แสงสว่าง  ที่อยู่อาศัย   เช่น การที่พืชสองชนิดขึ้นอยู่ใกล้เคียงกันจะแก่งแย่งกันครอบครองพื้นที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  บางครั้งฝ่ายที่อ่อนแอกว่าจะถูกแก่งแย่งจนตายไป

  8.  การกินซึ่งกันและกัน   เป็นการที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นอาหารมีผลต่อการควบคุมจำนวนของสัตว์ในแต่ละระบบนิเวศเพื่อให้เกิดความสมดุล ระบบนิเวศที่ขาดความสมดุลในเรื่องการกินซึ่งกันและกัน มีผลทำให้เกิดปัญหา  เช่น  ไร่ข้าวโพดมีตั๊กแตนมากินและทำลายข้าวโพดเสียหาย ถ้าไม่มีสัตว์อื่นมากินตั๊กแตน  ก็จะทำให้ตั๊กแตนแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ

9.  มลภาวะ  เป็นปัจจัยที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิต
และไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ  การเกิดมลภาวะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่
ไม่พึงประสงค์  ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น